“พลังชุมชน” เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus  (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) 

0

“พลังชุมชน”

                     

เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus  (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) ผ่านโครงการพลังชุมชน อบรมให้ความรู้คู่คุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต มุ่งให้ชุมชนเห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง สร้างอาชีพด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้โดนใจลูกค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ ดึงดูดใจผู้บริโภค นำหลักการตลาดไปใช้ในการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ขณะเดียวกันต้องบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง หากทำผิดพลาด ต้องไม่ย่อท้อ ล้มแล้วต้องรีบลุก
นำจุดบกพร่องมาเป็นบทเรียนพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ปี 2561 มีผู้ร่วมอบรมในโครงการ​พลังชุมชน 650 คน จาก 14
จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สระบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช เชียงราย แพร่ อุดรธานี อุบลราชธานีลำพูน อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ พิษณุโลก ตาก และระยอง มีสินค้าแปรรูป​กว่า 1,150 รายการ ชุมชนมีรายได้เพิ่ม 5 เท่า เกิดการจ้างงาน 3,410 คน ส่งต่อความรู้ 26,130 คน ช่วยปลดหนี้ มีอาชีพมั่นคง ต่อยอดความรู้ พัฒนาเป็นการตลาดรอดจนซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว
ขณะเดียวกันยังแบ่งปันความรู้และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง
เอสซีจีได้จัดงาน “พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา” โดยเชิญ 6 ตัวแทนบุคคลต้นแบบมาร่วมแบ่งปันความรู้ แนวคิดการพัฒนาอาชีพหัวข้อ “เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง” และเปิดเวทีให้น้อง ๆ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี
มาแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างมูลค่าจากวัตถุดิบรอบตัวและนำไปทำโครงการวิชาการประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ นอกจากนั้นยังเปิด “ตลาดพลังชุมชนชวนช้อป” นำสินค้ากว่า 200 รายการมาจำหน่าย เช่น ผงกล้วยหอมทองพร้อมชง จ.แพร่ ก๋วยจั๋บรสต้นตำรับเส้นญวน จ.อุบลราชธานี กระบกเคลือบคาราเมล จ.อุบลราชธานี เกล็ดปลานิลอินทรีย์ทอดกรุบกรอบ จ.เชียงราย ขนมกุ๊กไก่ไส้สับปะรด จ.ลำปาง ผ้าย้อมดินถิ่นครูบา จ.ลำพูน
แผ่นแปะสมุนไพรแก้ปวด จ.เชียงราย น้ำพริกปลาส้ม 4 ภาค จ.อุดรธานีและกระเป๋าทำจากผ้าขาวม้า จ.สระบุรี
ผู้สนใจสามารถสนับสนุนชุมชนโดยเลือกซื้อสินค้าขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด และแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
ได้ที่ E-CATALOG https://my.eboox.cc/shop9/1/2566/

“เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง”

6 ตัวแทนพลังชุมชนที่ร่วมแชร์ไอเดียสุดปังส่งต่อแรงบันดาลใจ

ฟ้าเสรี ประพันธา
จ. อุบลราชธานี
จากสาวชาวนามาเป็นประธานบริษัท
สร้างเงินทองจากของไร้ค่า

อดีตสาวชาวนาที่มุ่งมั่นเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง กล้าเปลี่ยนแปลงเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่น เช่น กระบก
(อัลมอนด์ป่าของไทย)ซึ่งมีคุณค่าโภชนาการสูง แปรรูปเป็นกระบกอบกรอบหลากรส คุกกี้กระบก จำหน่ายผ่านออนไลน์และเปิดโอกาสขายของนอกพื้นที่ด้วยการสร้างเครือข่ายสินค้าชุมชนข้ามจังหวัด ก่อตั้ง “บริษัท ไร่นาฟ้าเอ็นดู จำกัด” เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพให้คนในชุมชนมีรายได้ ไม่ต้องไปทำงานต่างถิ่นและเป็นแหล่งพัฒนาสินค้าที่หลากหลาย เช่น เมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าทั้งเมล็ดงอกและต้นพันธุ์สำหรับคนชอบปลูกต้นไม้แปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นเส้นก๋วยจั๊บ ทำน้ำพริกย้อนวัยอุดมด้วยสมุนไพรเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ เปลี่ยนว่านงาช้างว่านหางจระเข้เป็นสบู่สำหรับคนชอบใช้สมุนไพรรับโคมเกลือหิมาลัยมาขายให้คนรักสุขภาพคนเป็นโรคภูมิแพ้

นวัตกรตัวแม่ที่มีแนวคิดพัฒนาชุมชนวังชิ้น

ภัทชา ตนะทิพย์
จ.แพร่
นวัตกรตัวแม่แปรรูปกล้วยหอมทอง
เป็นของที่คนรักสุขภาพเรียกหา

จ.แพร่ ให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจ“#กล้าคิด #กล้าทำ #ทำต่อเนื่อง” เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ปลูกรอบบ้าน นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่องกลายเป็นกล้วยตาก แป้งกล้วย
เครื่องดื่มจากกล้วย ข้าวเม่าคาราเมลคอนเฟลกส์ กล้วยหอมทองซีเรียล โจ๊กกล้วยหอมทองธัญพืช ตั้ง
“ศูนย์นวัตกรรมกล้วยหอมทองครบวงจร” เปิดสอนอาชีพให้ผู้ที่สนใจ สร้างงานให้คนในท้องถิ่นและเชื่อมต่อท่องเที่ยวต่าง ๆ ใน อ.วังชิ้น จนกลายเป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีใหม่และชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจของ จ.แพร่  นอกจากนี้ช่วงโควิด 19 ยังชวนคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานที่บ้านเกิดมีอาชีพสร้างรายได้จากการทำตลาดออนไลน์จำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป

เกษตรกรนักแปรรูปแห่งสวนมาลี 

สุรัตน์ เทียมเมฆา
จ.ราชบุรี

ชุบชีวิตสมุนไพรในสวนหลังบ้านสร้างเงินล้านให้ชุมชน

เกษตรกรนักแปรรูปแห่งสวนมาลี จับภูมิปัญญาไทย ใส่นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้า แปรรูป ยืดอายุสมุนไพร
ผลไม้หลากชนิดที่มีในสวนให้ตอบเทรนด์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ และจำหน่ายได้ตลอดปี สร้างแบรนด์ “สวนสุมาลี”
ให้ลูกค้าจดจำและเชี่อมั่นในคุณภาพสินค้า เนื่องจากปลูกสมุนไพรแบบอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ได้แก่ กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ ชากระเจี๊ยบ ผงกระชาย ผงฟ้าทะลายโจร มะนาวแช่อิ่ม แป้งกล้วย และกระเจี๊ยบผง นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มตั้ง “วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรสวนมาลี” เพื่อแบ่งปันความรู้ให้ผู้สนใจมาศึกษาดูงาน
เห็นคุณค่าของสมุนไพรท้องถิ่นและนำไปสร้างอาชีพเพิ่มรายได้

อารีพร สุยะ
จ.เชียงราย

เปลี่ยนร้านก๋วยเตี๋ยวริมทางเป็นฟาร์มคาเฟ่ จุดเช็คอินสุดชิคเชียงราย

เมื่อผลผลิตและราคาลำไยไม่ค่อยดีประกอบกับต้องการให้ลูกสาวกลับมาทำงานที่บ้านเกิด จึงเป็นจุดเริ่มต้นหาโอกาสให้ตนเองตัดสินใจพัฒนาสวนลำไยเป็นสวนเกษตรแบบครบวงจร ปลูกพืช ผลไม้เมืองหนาว เช่น องุ่น สตรอเบอรี่ ผักปลอดสาร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารภายในร้าน ซึ่งออกแบบให้เป็น “ฟาร์มคาเฟ่สุดชิค” ปรับเปลี่ยนจากร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางให้กลายเป็นจุดเช็คอินของเชียงราย ชื่อ “ไม้หมอนฟาร์ม” ทั้งยังต่อยอดจำหน่ายสินค้าทางช่องทางออนไลน์ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดและต้องการให้ครอบครัวอยู่ร่วมกัน จึงร่วมกับลูกสาว สร้างฟาร์มคาเฟ่ ภายใต้แบรนด์
“ไม้หมอนฟาร์ม” ให้เป็นร้านกาแฟ แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจ.เชียงราย เสริฟอาหารแสนอร่อยและยังเปิดโอกาสให้เครือข่ายโครงการพลังชุมชนในพื้นที่อื่นๆ นำสินค้ามาจำหน่าย เพื่อให้เกิดการสร้างงาน กระจายรายได้
และเติบโตไปด้วยกัน

จีระยุทธ ไข่นุ่น
จ.นครศรีธรรมราช
เสิร์ฟเครื่องแกงใต้เผ็ดร้อน หรอยจังฮู้…ทุกครัวต้องมี

ยอดนักขายเครื่องแกงใต้ อันดับ 1 แห่งเครื่องแกงชาววังได้เปลี่ยน mindset เปิดใจรับฟังความคิดเห็นลูกค้ามารวมกับหลักการตลาด ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างเอกลักษณ์สินค้าให้โดดเด่นเป็นของขึ้นชื่อประจำจังหวัดพัฒนาเครื่องแกงใต้ชาววังรสเผ็ดร้อนให้ถูกปากผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นพริกแกงคั่วกลิ้ง พริกแกงกะทิ และพริกแกงส้ม
มุ่งพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ไม่ซ้ำใคร เสริฟลูกค้าต่อเนื่อง เช่น ไตปลาแห้ง (สินค้าพร้อมทาน) เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ ช่วยให้ซื้อง่าย ขายคล่อง กลายเป็นเครื่องแกงที่ทุกตู้เย็นทั่วไทย มีติดไว้ พร้อมแบ่งปันความรู้
สร้างอาชีพให้คนท้องถิ่น ด้วยการตั้ง “วิสาหกิจเครื่องเเกงชาววัง” เป็นเครือข่ายเข้มแข็ง ช่วยสร้างอาชีพให้คนในชุมชน

อานันต์ศรี แก้วเลิศตระกูล

จ.เชียงใหม่
แม่หลวงแหนบทองคำ พลิกชีวิตผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยผ้าทอปกาเกอะญอ ”ชูใจ”

แม่หลวงเปิ้ล หรือแม่หลวงแหนบทองคําที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวปกาเกอะญอด้านการทอผ้า มายกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการแต่งกายของใช้จากผ้าทอที่มีลวดลายโดดเด่น ดีไซน์สวยงาม ภายใต้แบรนด์ “ชูใจ”
เช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ย่ามทอมือและกระเป๋าผ้าทำจากผ้าฝ้ายลายปักธรรมชาติ ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่แดดน้อยเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้พัฒนาและต่อยอดวัฒนธรรมชุมชนเปลี่ยนความกังวัลจากปัญหาความยากจนความเครียด และโรคซึมเศร้ามาเป็นการสร้างสรรค์งานฝีมือที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เกิดเป็นอาชีพ สร้างรายได้และภาคภูมิใจในคุณค่าของตนสามารถยืนหยัดพึ่งพาตนเองได้ตามชื่อแบรนด์ “ชูใจ”

ครู นักเรียนมัธยม
โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี

“ปัง!!…ตั้งแต่ยังเด็ก”

กลุ่มเยาวชน ครูโรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานีที่เรียนรู้การนำวัตถุดิบรอบตัวมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้รับแรงบันดาลใจจากบุคคลต้นแบบโครงการพลังชุมชน ทำธุรกิจ ปลาส้มครบวงจร มาทำเป็นโครงงานวิชาการเข้าประกวด
และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้บรรจุโครงการฝึกวิชาชีพเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน จุดเริ่มต้นมาจากยศวัฒน์ ผาติพนมรัตน์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจวังธรรมผลิตและแปรรูปปลาครบวงจร
บุคคลต้นแบบโครงการพลังชุมชน ต้องการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ปลูกฝังทักษะการประกอบอาชีพให้เยาวชนที่
บ้านเกิดเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางประกอบอาชีพในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *